ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Emblic myrabolan[3]
Emblic myrabolan[3]
Phyllanthus emblica L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Euphorbiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica L.
 
  ชื่อไทย มะขามป้อม
 
  ชื่อท้องถิ่น มะขามป้อม(คนเมือง,ขมุ,ไทใหญ่), สือกะลั่ง(ม้ง), เต่อเล่เหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), เพี๊ยะแหม่(ลั้วะ), เส่ย่าสะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), กะยาสะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), บัวเหล้เปียว(เมี่ยน)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ต้น ขนาดกลาง, สูง 8 – 12 ม. เปลือกสีเขียวอมเทาลอกออกเป็นแผ่นๆ เนื้อไม้สีแดงอมน้ำตาล
ใบ เดี่ยว สีเขียวอ่อน กว้าง 0.25 – 0.5 ซม. ยาว 0.8 – 1.2 ซม. เรียงชิดกัน ดูผาด ๆ เหมือนใบประกอบ ก้านใบสั้นมาก
ดอก เล็กสีขาว หรือ นวล ดอกแยกเพศ แต่เกิดบนต้นเดียวกัน ออกตามง่ามใบ 3 – 5 ดอก มีกลีบรองกลีบดอก 6 กลีบ ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้ มีเกสรผู้ 3 อัน ฐานรองดอกมีต่อม 6 ต่อม ดอกเพศเมีย มีฐานรองดอกเป็นรูปถ้วย ขอบถ้วยหยัก รังไข่มี 3 ช่อง หลอดท่อรังไข่ปลายแยกเป็น 2 แฉก ไม่เท่ากัน
ผล กลม มีเนื้อหนา เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2 – 2 ซม ผลอ่อนสีเขียวอ่อน ผลแก่สีเขียวอมเหลือง เนื้อรับประทานได้ มีรสฝาด เปรี้ยว ขม และอมหวาน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง มีสันตามยาว 6 สัน ภายในมี 6 เมล็ด [6]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว สีเขียวอ่อน กว้าง 0.25 – 0.5 ซม. ยาว 0.8 – 1.2 ซม. เรียงชิดกัน ดูผาด ๆ เหมือนใบประกอบ ก้านใบสั้นมาก
 
  ดอก ดอก เล็กสีขาว หรือ นวล ดอกแยกเพศ แต่เกิดบนต้นเดียวกัน ออกตามง่ามใบ 3 – 5 ดอก มีกลีบรองกลีบดอก 6 กลีบ ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้ มีเกสรผู้ 3 อัน ฐานรองดอกมีต่อม 6 ต่อม ดอกเพศเมีย มีฐานรองดอกเป็นรูปถ้วย ขอบถ้วยหยัก รังไข่มี 3 ช่อง หลอดท่อรังไข่ปลายแยกเป็น 2 แฉก ไม่เท่ากัน
 
  ผล ผล กลม มีเนื้อหนา เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2 – 2 ซม ผลอ่อนสีเขียวอ่อน ผลแก่สีเขียวอมเหลือง เนื้อรับประทานได้ มีรสฝาด เปรี้ยว ขม และอมหวาน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง มีสันตามยาว 6 สัน ภายในมี 6 เมล็ด [6]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผล รับประทานได้ หรือนำไปดอง(ขมุ)
ผล รับประทานได้ มีรสเปรี้ยวฝาด, เปลือกต้นใช้ประกอบอาหาร เช่น ขูดใส่ในแกงหรือ ลาบ(ไทใหญ่)
ผล รับประทานได้ ทำให้ชุ่มคอ(กะเหรี่ยงแดง)
ผล รับประทานได้ มีรสเปรี้ยวฝาด(กะเหรี่ยงเชียงใหม่,คนเมือง,ลั้วะ)
ผลแก่ รับประทานแก้กระหายน้ำ(เมี่ยน)
ปมที่กิ่ง เคี้ยวกินแก้ไอ และเจ็บคอ(กะเหรี่ยง)
- ยอดอ่อน ทุบแล้วนำไปห่อด้วยผ้าแล้วเอามากดทับลงบนแผลอักเสบที่ผิวหนังเด็ก (ยาจู้) ซึ่งมักจะเกิดบริเวณขาหนีบ ช่วยทำให้แผลแห้งเร็ว ใช้แทนแป้งทาตัว(คนเมือง)
ผล รับประทานเป็นผลไม้ มีสรรพคุณแก้อาการเจ็บคอ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ผล กินสดช่วยรักษาแผลสด เช่น แผลมีดบาด(ไทใหญ่)
ผลแก่ รับประทานช่วยรักษาแผลร้อนในในปาก(ม้ง)
- ผล ทุบให้ละเอียดแล้วนำไปต้ม ใช้ย้อมผ้าให้สีเขียวอ่อนๆ(กะเหรี่ยง)
- ลำต้น ใช้ทำฟืน(ขมุ)
- ราก น้ำต้มรากกินเป็นยาลดไข้, เป็นยาเย็น, ฟอกเลือด และทำให้อาเจียน ถ้ากลั่นรากจะได้สารที่มีคุณสมบัติเป็นยาฝาดสมานที่ดีกว่าสีเสียด (catechu)
ต้น เปลือกเป็นยาฝาดสมาน
ใบ น้ำต้มใบใช้อาบลดไข้
ดอก มีกลิ่นหอมคล้ายผิวมะนาว, ใช้เข้าเครื่องยาเป็นยาเย็น, และยาระบาย
ผล ใช้ได้ทั้งผลสดและผลแห้ง, มีฤทธิ์กัดทำลาย, เป็นยาเย็น, ยาฝาดสมาน, ลดไข้, ขับปัสสาวะ, ระบาย, บำรุงหัวใจ, ฟอกเลือด; น้ำคั้นผลสด, มีปริมาณวิตามินซีสูงกว่าน้ำส้มคั้นประมาณ 20 เท่า ในปริมาณเท่ากัน, ใช้แก้โรคลักปิดลักเปิด
ยางผลใช้หยอดตาแก้ตาอักเสบ (10), กินเป็นยาช่วยย่อย และขับปัสสาวะ
เนื้อผลแห้งที่เรียกว่า Emblic myrobalan ใช้เป็นยาฝาดสมาน, เพราะมี tannin แก้โรคริดสีดวงทวาร, แก้บิด, ท้องเสีย, ใช้ควบกับธาตุเหล็กแก้โรคดีซ่านและช่วยย่อย ถ้าหมักผลจะได้แอลกอฮอล์ กินแก้อาหารไม่ย่อย, แก้ไอ และแก้โรคดีซ่าน [6]
- ราก แก้ไข้ ฟอกโลหิต
เปลือก สมานแผล
ใบ ลดไข้
ดอก ระบายท้อง
ผล แก้ไอ แก้ไข้ ละลายเสมหะ บำรุงร่างกาย เป็นยาระบาย แก้เลือดออกตามไรฟัน [5]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
[5] พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, 2550. พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์. สวนพฤกษศาสตร์ ภาคตะวันออก (เขาหินซ้อน). เจตนารมณ์ภัณฑ์, ปราจีนบุรี.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง